22 กรกฎาคม 2552

รู้จักกับไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ของโลก A-2009 H1N1

รู้จักกับไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ของโลก A-2009 H1N1
วันศุกร์ 1 พฤษภาคม 2552 16:41 รายงานพิเศษ อ่าน 61,954 ครั้ง 73 ความเห็น
27เม.ย. ที่ผ่านมาสำนักข่าวต่างประเทศต่างพากันรายงานว่าที่กรุงเม็กซิโก ซิตีเมืองหลวงของประเทศเม็กซิโก ได้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ คือไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์H1N1หรือที่เรียกว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009ซึ่งหลังจากที่ได้แพร่ระบาดเข้าสู่สหรัฐอเมริการและแคนนาดาแล้วจึงได้กระจายไปสู่ภูมิภาคอื่นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้เพิ่มระดับเตือนภัยการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้เป็นระดับ 5 ซึ่งเป็นขั้นที่ตรวจพบว่ามีการแพร่เชื้อจากคนสู่คนในอย่างน้อย 2 ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน หรือการติดเชื้อข้ามประเทศ เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา

ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 52 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศยกระดับการเตือนภัยไข้หวัดใหญ่ 2009 จากระดับ 5 เป็นระดับ 6 หรือระดับสูงสุดแล้ว เนื่องจากเริ่มต้นแพร่ระบาดไปทั่วโลกแล้ว อีกทั้งยอดผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ ยุโรป อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย เอเชีย และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกก็พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 41 ปีที่มีการประกาศเตือนภัยไข้หวัดใหญ่ระบาดกว้างขวางทั่วโลก

นอกจากนี้องค์การอนามัยยังประกาศให้เรียกชื่อโรคนี้อย่างเป็นทางการว่า โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดA H1N1 แทนการเรียกว่า ไข้หวัดหมู

เช่นเดียวกับที่ก่อนหน้านี้สหรัฐ เรียกไข้หวัดสายพันธุ์ดังกล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1 เพื่อแก้ความเข้าใจผิดที่ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้เกิดจากหมู


รู้จักกับไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ของโลก


ดร.แนนซี่ ค็อกซ์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยไข้หวัดใหญ่ ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐ กล่าวว่า ไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ชนิด A H1N1 นี้ มีลักษณะพันธุกรรมหรือยีน ที่ประกอบด้วยเชื้อไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์รวมอยู่ด้วยกัน ได้แก่ เชื้อไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ เชื้อไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ และ เชื้อไข้หวัดหมูที่พบบ่อยในทวีปยุโรปและเอเชีย










โดยสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เชื้อไข้หวัดพันธุ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือ Antigenetic Shift โดยมีหมูที่เป็นพาหะนำโรค โดยการถูกเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ไข้หวัดหมู และไข้หวัดใหญ่ เข้าไปอยู่ในตัว ต่อมาเซลล์ในตัวหมูถูกไวรัสตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปโจมตี ทำให้หน่วยพันธุกรรมไวรัสดังกล่าวผสมปนเปกันระหว่างการแบ่งตัว กลายเป็นเชื้อพันธุ์ใหม่ขึ้นมา


ขณะเดียวกัน ก็มีรายงานว่า นายเอเดรียน กิบส์ ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยพัฒนายาต้านไวรัส ทามิฟลู ของบริษัทโรช และเป็นผู้ศึกษาวิวัฒนาการของเชื้อโรคมาเป็นเวลานานถึง 40 ปี เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์รายแรกๆที่วิเคราะห์ส่วนประกอบทางด้านพันธุกรรมเปิดเผยว่า เขาตั้งใจที่จะตีพิมพ์รายงานที่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ จากไข่ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เพาะไวรัสและบริษัทยาได้นำไปใช้เพื่อผลิตวัคซีนก็เป็นได้


โดยนายกิบส์กล่าวว่า การชี้เบาะแสของต้นตอไวรัสอาจจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ดีขึ้น ทั้งในเรื่องของการแพร่เชื้อและสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย ซึ่งขณะนี้องค์การอนามัยโลกอยู่ในระหว่างการพิจารณารายงานฉบับนี้



หมูไม่เกี่ยว

น.พ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผอ.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดใหม่นี้ว่า แม้จะมีเชื้อตั้งต้นมาจากหมู แต่ระยะแพร่ระบาดคือ ติดต่อจากคนสู่คน ดังนั้นการบริโภคผลิตภัณฑ์จากหมูไม่มีอันตรายแต่อย่างใด

ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับ “ไข้หวัดนก” ที่เคยแพร่ระบาดในอดีต ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อจากสัตว์ปีกสู่คนได้นั้น จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผู้ได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ มีอัตราเสียชีวิตร้อยละ 5-7 ซึ่งถือว่ายังน้อยกว่าอัตราของผู้เสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก


ข้อมูลที่น่าสนใจ

1. ปัจจุบันมีเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่จำนวนมากในโลกและมีวัคซีนที่สามารถฉีดยาป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยแต่ละปีวัคซีนที่นำมาใช้เป็นไปตามเชื้อไวรัสที่น่าจะมีผลกระทบมากในปีนั้นๆ

2. ไวรัส H1N1 หรือไวรัสของไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่นี้ เป็นไวรัสที่ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วและยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

3. ปัจจุบันยังไม่มีอันตรายที่น่าวิตกจนเกินไป โดยที่ผ่านมาผู้ที่ได้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 จะมีความรุนแรงต่อร่างกายน้อย น.พ. Belinda Ostrowsky จากศูนย์การแพทย์ Montefiore นิวยอร์ค กล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดชนิดนี้ เพียงเล็กน้อยในสหรัฐฯ หากเทียบกับยอดผู้เสียชีวิตด้วยไข้หวัดตามฤดูกาลประมาณ 2,000 คน จากทุกปี

ด้านกระทรวงสาธารณะสุขของไทย ระบุว่า เชื้อดังกล่าวไม่มีความรุนแรงมาก โดยมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่า 1% มีโอกาสหายเองได้เกิน 90 % และในส่วนที่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล 5-10% นั้น เนื่องจากมีโรคประจำตัว

4. ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพแข็งแรงและอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาหายได้ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย ทั้งนี้หากเป็นผู้สูงอายุหรือเด็กจะมีความเสี่ยงมากกว่า






อาการ

ผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นตามปกติ คือ มีไข้ขึ้นสูง ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไอ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามร่างกายรุนแรง ท้องร่วง และปวดศีรษะรุนแรง อาการป่วยจะพัฒนารวดเร็วและจะมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรงภายใน 5 วัน ทั้งนี้อาจจะพบว่าผู้ที่รับเชื้อจะแสดงอาการไม่รุนแรง

ข้อควรระวัง

- ผู้ติดเชื้อมีภูมิต้านทานอ่อนแอ ได้แก่ เด็ก คนชรา และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น จะมีผลกระทบต่อร่างกายมากกว่าคนธรรมดา ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้นควรพบแพทย์เมื่อรู้สึกเป็นไข้ภายใน 2 วัน

- กรณีที่มีอาการรุนแรง เกิดจากมีการอักเสบที่ปอด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

- เด็กเล็กที่มีผู้ปกครองอาจได้รับทราบอาการป่วยช้า เนื่องจากเด็กไม่ได้บอกให้ทราบ




การติดต่อ

การแพร่ติดต่อเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคน คือ

1. แพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอ หรือจามรดกัน โดยที่เชื้อจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย

2. ติดจากมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา หากนำมือที่มีเชื้อไปสัมผัสร่างกาย เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา


การป้องกัน

1.ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิด เพื่อป้องกันเวลาจาม

2.หมั่นล้างมือ

3.หากมีอาการ ไข้อย่างรุนแรง และไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์ทันที โดยเฉพาะผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้ รวมทั้งผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด

4. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่แอดอัด และงดเดินทางไปในประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคนี้อย่างรุนแรง

5. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ




การรักษา


ในเอกสารเรื่องการแพร่ระบาดของไข้หวัดชนิดนี้ ที่กงสุลใหญ่ ในนครลอสแองเจลิสของสหรัฐ แสดงข้อมูลที่ระบุว่า สามารถใช้ยาชนิดเดียวกับยาไข้หวัดใหญ่ทั่วไปในการรักษาไข้หวัดชนิดเอ H1N1 ได้ คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) หรือ ทามิฟลู (Tamiflu) และยา zanamivir ซึ่งเป็นยาชนิดพ่น แต่ทั้งนี้ยาดังกล่าว ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้

ทั้งนี้มีรายงานระบุว่าในสหรัฐอเมริกา ผลการตรวจเชื้อไวรัสชนิดนี้พบว่าเชื้อดังกล่าวดื้อยาต้านไวรัส amantadine และ rimantadine

อย่างไรก็ตาม WHO ออกมายอมรับว่ายาทามิฟลูที่มีอยู่ในขณะนี้อาจไม่เพียงพอต่อการับมือกับการแพร่ระบาดที่อาจเพิ่มมากขึ้น


ข้อควรพิจารณา

1. ไม่ควรเชื่อ หากมีการโฆษณาว่า เมื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไปแล้ว จะสามารถป้องกันไข้หวัดใหม่สายพันธุ์ใหม่ได้

2. ค่าใช้จ่ายสำหรับการตรวจว่าผู้ป่วยเข้าข่ายติดเชื้อไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงมากสำหรับผู้มีฐานะยากจน คือประมาณ 4,000-8,000 บาท ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้รอบคอบ หรือศึกษาข้อมูลด้วยตัวเองและปรึกษาแพทย์ก่อน

สถานการณ์แพร่ระบาด


วันที่ 12 มิ.ย. 52 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยกระดับการเตือนภัยไข้หวัดใหญ่ 2009 จากระดับ 5 เป็นระดับ 6 หรือระดับสูงสุดแล้ว ซึ่งหมายถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดไปทั่วโลกแล้ว อีกทั้งยอดผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ ยุโรป อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย เอเชีย และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกก็พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

นอกจากนั้น WHO ได้แนะนำให้บริษัทเวชภัณฑ์ที่ผลิตวัคซีนต่างๆ เร่งผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลให้เสร็จสิ้น ซึ่งจะเสร็จสิ้นภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า ก่อนหันไปผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งคาดว่าจะออกสู่ท้องตลาดอย่างเร็วที่สุดเดือนกย.ปีนี้ และ WHO จะเริ่มแจกยาต่อต้านไวรัส “ทามิฟลู” ให้ประเทศต่างๆ อีก 5.65 ล้านชุด เพิ่มเติมจากที่แจกไปแล้ว 5 ล้านชุด




สถานการณ์ในประเทศไทย

ซึ่ง วันที่ 1 พ.ค. 52 นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่าที่ประชุมศูนย์บัญชาการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ให้สรุปใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ 2009H1N1 และมีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพื่อให้ง่ายแก่การสื่อสารและสร้างความเข้าใจแก่สาธารณะ

วันที่ 15 มิ.ย.52 ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของโรคดังกล่าวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จากระดับ B เป็นระดับ C




มาตรการเฝ้าระวัง

สธ.ใช้มาตรการแซนด์วิช คือมาตรการเฝ้าระวังโรคในกลุ่มที่เดินทางมาจากต่างประเทศทุกคนที่ด่านตรวจโรคประจำสนามบิน เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ ได้เพิ่มกำลังแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ประจำการจากวันละ 60 คน เป็นวันละเกือบ 100 คน ตลอด 24 ชั่วโมง และให้มีระบบการเชื่อมโยงส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยในรายที่มีไข้และเดินทางกลับจากต่างประเทศให้พื้นที่ต่างๆ ได้ติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงตามด่านพรมแดนต่างๆ และการค้นหาผู้ป่วยในหมู่บ้านชุมชน และที่โรงพยาบาล คลินิก โรงพยาบาลเอกชน อย่างเข้มแข็ง เพื่อค้นหาผู้ป่วยให้พบอย่างรวดเร็ว ให้การดูแลรักษาและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อให้อยู่ในวงจำกัด

ยาต้านไวรัส

กระทรวงสาธารณะสุขได้มอบหมายให้องค์การเภสชักรรม(อภ.) เจรจากับบริษัทยาในประเทศอินเดียซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบการการผลิตยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ให้ยังคงราคาเดิมเป็นเวลา 1 เดือน เนื่องจากขณะนี้เกิดการระบาดทำให้หลายประเทศสั่งซื้อจำนวนมาก จนราคาวัตถุดิบปรับสูงขึ้น มาตรการด้านสำรองนั้น

เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไวต่อยาโอเซลทามิเวียร์และยาซานามิเวียร์ เพราะยาทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มเดียวกันที่ยับยั้งไม่ให้ไวรัสแตกตัว โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อต้องรับยาติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน วันละ 2 ครั้ง และต้องรับยาภายใน 48 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ จึงจะได้ผลเต็มประสิทธิภาพ เพียงแต่ยาโอเซลทามิเวียร์เป็นยากินชนิดเม็ด ส่วนยาซานามิเวียร์เป็นยาพ่น

กระทรวงสาธารณสุขปรับมาตรการในการป้องกันโรค

มุ่งเน้นการให้ความรู้ประชาชนให้รู้จักการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี คือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ซึ่งมีอาการป่วยเล็กน้อย ให้หยุดพักเพื่อรักษาตัวที่บ้าน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ และป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น โดยใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังไอ จาม และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่น แต่หากอาการรุนแรงขึ้น เช่น มีไข้สูง หรือไอมาก หรือหายใจลำบาก ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาล



สธ.ออกประกาศฉบับ 7 แนะประชาชนรับมือไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่

วันที่ 13 มิ.ย. 52 ได้ออกคำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 7 เพื่อการป้องกันโรคสำหรับกลุ่มต่างๆ ซึ่งได้ปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และข้อมูลวิชาการที่ทันสมัย ในคำแนะนำดังกล่าว สำหรับประชาชนทั่วไปเน้นการป้องกันตนเอง ไม่ให้ป่วย และการป้องกันการแพร่เชื้อจากผู้ป่วย สำหรับสถานศึกษา สถานประกอบการ และสถานที่ทำงาน เน้นการให้นักเรียนหรือพนักงานที่มีอาการป่วยหยุดเรียนหรือหยุดงาน เพื่อไม่ให้จำเป็นต้องปิดสถานศึกษาหรือสถานประกอบการ โดยสามารถ ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.moph.go.th



ทั้งนี้หากประชาชนต้องการข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 02 -590-3333 และที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลข 02-590-1994ตลอด 24 ชั่วโมง

ศิริราชถอดรหัสพันธุกรรมไวรัส ได้

โรงพยาบาลศิริราช แถลงผลสำเร็จการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ครั้งแรกของไทย ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคที่เร็วขึ้นและนำไปสู่การพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัสสายพันธุ์ H1N1 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคต

ทั้งนี้เป็นความสำเร็จจากการตรวจและศึกษาการระบาดของไข้หวัดใหญ่มานานกว่า 30 ปี ซึ่งการตรวจหาเชื้อ H1N1 นั้นโรงพยาบาลศิริราชสามารถตรวจหาได้ภายใน 24 ชั่วโมงและสามารถวิเคราะห์ลำดับนิวคลิโอไทด์เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของเชื้อได้ภายใน 3 วัน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการวิจัยดังกล่าว จะสามรถต่อยอดไปถึงขั้นการผลิตวัคซีนป้องกันได้ แต่คงไม่ทันต่อผลิตวัคซีน เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดสายพันธุ์ที่กำลังทีระบาดอยู่ขณะนี้




รพ.รามาพัฒนาชุดตวจเชื้อ all-in-one

วันที่ 15 พ.ค. โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยผลสำเร็จ ในการพัฒนา “ชุดตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่”แบบออล-อิน-วัน ซึ่งสามารถตรวจเชื้อไข้หวัดทุกสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในปัจจุบันได้พร้อมกันในครั้งเดียว โดยรู้ผลภายใน 4 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ไข้หวัดนก(เอช5เอ็น1) ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (เอช1เอ็น1) รวมถึงเชื้อไวรัสที่ดื้อยา

แพทย์เตือนอย่ากินยาลดไข้ก่อนลงเครื่อง

นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเตือนกลุ่มผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศว่า ไม่ควรกินยาลดไข้ก่อนลงเครื่อง ซึ่งหลายคนกลัวหากมีไข้ จะถูกกักตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะหากป่วยจากเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จริง จะเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต หากไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์ ทั้งยังจะแพร่เชื้อให้คนรอบข้างได้ แต่หากได้รับการรักษาทันเวลา ก็จะหายขาด


สถานการณ์โรคในประเทศไทย

ข้อมูลล่าสุด วันที่ 22 ก.ค.52 นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ว่า ขณะ นี้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่สะสมทั้ง สิ้น 6,776 ราย รักษาหายแล้ว 6,697 ราย นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล จำนวน 35 ราย ในจำนวนนี้มีอาการหนักรุนแรง 7 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสมทั้งสิ้น 44 ราย เพิ่มจากเดิม จำนวน 20 ราย

กระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่า ต่อจากนี้จะยึดตามหลักขององค์การอนามัยโลก ที่จะรายงานยอดผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตเป็นรายสัปดาห์ โดยข้อมูลล่าสุดที่มีรายงานจากองค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 6 ก.ค. 52 มีผู้ติดเชื้อจาก 136 ประเทศ รวม 94,512 ราย เสียชีวิต 429 ราย เป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.45 (รายละเอียดตามตาราง)


http://www.chaoprayanews.com/2009/05/01/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99/

Last lecture อยากสอนอะไรในเล็คเชอร์สุดท้าย (ก่อนเสียชีวิต)

ศ. แรนดี้ เพาช์ ศาตราจารย์ด้าน Computer Science บรรยายที่มหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สหรัฐอเมริกา หลังจากที่ทราบว่าเป็นมะเร็งขั้นสุดท้าย

song

http://www.youtube.com/watch?v=7vY1peG8gHQ

Examination:pre-test,post-test แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ทุกคนต้องใส่รหัสเพื่อเปิดข้อสอบแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกันและcrop คะแนนที่ได้ส่งทาง e-mail แล้ว printมาส่งด้วยครับ ที่อยู่ข้อสอบ คลิกที่นี่สำหรับโหลด

Manager Online - ต่างประเทศ

Read,please. อ่าน รบกวน กรอกแสดงความคิดเห็น หลังได้รูปภาพ งาน การบ้าน

  • เพราะเมื่อท่านได้รับข้อมูลจะลบครับ
  • วิธีการ แสดงความเห็นครับ
  • 1.คลิก แสดงความเห็น
  • 2.พบกรอบ กรอกข้อความที่ต้องการ
  • 3.คลิก ชื่อเล่น แต่กรุณาใสชื่อจริงครับ นามสกุลไส่หรือไม่ก็ได้
  • 5.คลิก เผยแพร่บทความ
  • 4.รอขีด แสดงจนแล้วเสร็จ ครับ

ปรัชญาการวิจัย

คเวสนา ปรมา วิชชา
การวิจัยนำมาซึ่งยอดแห่งความรู้
RESEARCH LEADS TO SUMMIT OF KNOWLEDGE
การวิจัยตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Research เกิดจากคำ 2 คำมารวมกัน คือคำว่า RE+SEARCH จากรากศัพท์เดิมว่า การค้นหาซ้ำแล้วซ้ำอีกให้เกิดความมั่นใจ นอกจากนี้นักจิตวิทยาด้านการวิจัย ออกแบบแนวคิดอธิบายค่า “Research” โดยแยกเป็นอักษรที่มาจากความหมายจากที่ประชุม Pan Pacific Socience Congress ในปี ค.ศ. 1961 ณ. สหรัฐอเมริกา ได้แยกอธิบายความหมายไว้ดังนี้
R = ecruitment & Relationship หมายถึง การฝึกตนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานรวมกัน ติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน
E = Education & Efficency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้และสมรรถภาพสูงในการวิจัย
S = Sciences & Stimulation หมายถึง เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการพิสูจน์ค้นคว้า เพื่อหาความจริง และผู้วิจัยต้องมีความกระตุ้นในด้านความคิดริเริ่ม กระตือรือร้นที่จะทำวิจัย
E = Evaluation & Enviroment หมายถึง รู้จักประเมินผลว่ามีประโยชน์สมควรจะทำต่อไปหรือไม่ และต้องรู้จักใช้เครื่องมือต่างๆในการวิจัย
A = Aim & Attitude หมายถึง มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่แน่นอน และมีทัศนคติที่ดีต่อการติดตามผลการวิจัย
R = Result หมายถึง ผลการวิจัยที่ได้มาเป็นผลอย่างไรก็ตามจะต้องยอมรับผลการวิจัยนั้นอย่างดุษฎี และเป็นผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ
C = Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความรู้อยากรู้อยากเห็น มีความสนใจและขวนขวายในการวิจัยอยู่ตลอดเวลา
H = Horizon หมายถึงว่า เมื่อผลการวิจัยปรากฏออกมาแล้วย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้เหมือนกับการเกิดแสงสว่างขึ้น แต่ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่าง ผู้วิจัยจะต้องดำเนินต่อไป จนกว่าจะพบแสงสว่าง ในทางสังคมแสงสว่างหมายถึง ผลการวิจัยก่อให้เกิดสุขแก่สังคม (อารมณ์ สนานภู่ : 2545.)