06 กันยายน 2551

Abstract

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาและการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการท่องเที่ยวจังหวัด
ปราจีนบุรี ประกอบสื่อจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้น
ผู้รายงาน นายทรงชัย คงเงิน
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกสั้น
ปีที่รายงาน 2550

บทคัดย่อ

การพัฒนาและการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง เรื่อง Amazing In Prachin Buri ในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดย ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวใน
จังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง และเจตคติที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการหาประสิทธิภาพในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้นอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวนนักเรียน 42 คน ดำเนินการสุ่มอย่างง่าย(Random simple samping ) เพื่อใช้ในการทดลองครั้งที่ 1 กับนักเรียน 3 คนเพื่อ หาประสิทธิภาพข้างต้นได้แก่รูปแบบ ภาษา เวลาที่ใช้ ทดลองครั้งที่ 2 กับนักเรียน 9 คน เพื่อหาประสิทธิภาพข้างต้นของเนื้อหาและวัตถุประสงค์และทดลองครั้งที่ 3 กับนักเรียนจำนวน 30 คนเพื่อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน E / E
ประชากรที่ใช้ในการนำชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง เรื่อง Amazing In Prachin Buri ไปใช้จริงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกสั้น อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 56 คน การเผยแพร่กับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี จำนวน 7 คน เผยแพร่กับครูผู้สอนกลุ่มสาระอื่น ๆสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี จำนวน 2 คน และ เผยแพร่กับครูผู้สอนกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5 จำนวน 2 คน
เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการในครั้งนี้ คือ ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่ง
ท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง จำนวน 7 เล่ม แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์เป็น แบบปรนัย

แบบ 4 ตัวเลือก 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง จำนวน 10 ข้อและแบบสอบถามเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษ จำนวน 10 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพ ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยใช้สูตร E1/E2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังโดยใช้ ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง วิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง และแบบสอบถามเจตคติที่มีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยหาค่าเฉลี่ย ( ) และหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.)
สรุปผลการพัฒนาและการใช้ ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง
1. ประสิทธิภาพของกระบวนการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจาก ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง เรื่อง Amazing In Prachin Buri ในภาพรวมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน โดย เล่มที่ 1 เรื่อง Prachin Buri Attractions มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน =80.00/82.33 เล่มที่ 2 เรื่อง Wat Kaeo Phichit มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน =80.33/84.33 เล่มที่ 3 เรื่อง Kaeng Hin Phoeng มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน =80.00/84.00 เล่มที่ 4 เรื่อง Thap Lan National Park. มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน =80.67/83.33 เล่มที่ 5 เรื่อง Chao Phraya Abhaibhubate Building. มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน =81.00/82.00 เล่มที่ 6 เรื่อง Sa Morakot Archaeological Site มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน =80.67/85.00. เล่มที่ 7 เรื่อง Welcome To Prachin Buri Province มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน =81.00/83.67
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง ในภาพรวมอย่างในระดับมาก โดยนักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง อยู่ในระดับมากที่สุด
4. เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีโดยนักเรียนมีเจตคติเกี่ยวกับ ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบสื่อจริง วิชาภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับ ดีที่สุด

Last lecture อยากสอนอะไรในเล็คเชอร์สุดท้าย (ก่อนเสียชีวิต)

ศ. แรนดี้ เพาช์ ศาตราจารย์ด้าน Computer Science บรรยายที่มหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สหรัฐอเมริกา หลังจากที่ทราบว่าเป็นมะเร็งขั้นสุดท้าย

song

http://www.youtube.com/watch?v=7vY1peG8gHQ

Examination:pre-test,post-test แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ทุกคนต้องใส่รหัสเพื่อเปิดข้อสอบแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกันและcrop คะแนนที่ได้ส่งทาง e-mail แล้ว printมาส่งด้วยครับ ที่อยู่ข้อสอบ คลิกที่นี่สำหรับโหลด

Manager Online - ต่างประเทศ

Read,please. อ่าน รบกวน กรอกแสดงความคิดเห็น หลังได้รูปภาพ งาน การบ้าน

  • เพราะเมื่อท่านได้รับข้อมูลจะลบครับ
  • วิธีการ แสดงความเห็นครับ
  • 1.คลิก แสดงความเห็น
  • 2.พบกรอบ กรอกข้อความที่ต้องการ
  • 3.คลิก ชื่อเล่น แต่กรุณาใสชื่อจริงครับ นามสกุลไส่หรือไม่ก็ได้
  • 5.คลิก เผยแพร่บทความ
  • 4.รอขีด แสดงจนแล้วเสร็จ ครับ

ปรัชญาการวิจัย

คเวสนา ปรมา วิชชา
การวิจัยนำมาซึ่งยอดแห่งความรู้
RESEARCH LEADS TO SUMMIT OF KNOWLEDGE
การวิจัยตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Research เกิดจากคำ 2 คำมารวมกัน คือคำว่า RE+SEARCH จากรากศัพท์เดิมว่า การค้นหาซ้ำแล้วซ้ำอีกให้เกิดความมั่นใจ นอกจากนี้นักจิตวิทยาด้านการวิจัย ออกแบบแนวคิดอธิบายค่า “Research” โดยแยกเป็นอักษรที่มาจากความหมายจากที่ประชุม Pan Pacific Socience Congress ในปี ค.ศ. 1961 ณ. สหรัฐอเมริกา ได้แยกอธิบายความหมายไว้ดังนี้
R = ecruitment & Relationship หมายถึง การฝึกตนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานรวมกัน ติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน
E = Education & Efficency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้และสมรรถภาพสูงในการวิจัย
S = Sciences & Stimulation หมายถึง เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการพิสูจน์ค้นคว้า เพื่อหาความจริง และผู้วิจัยต้องมีความกระตุ้นในด้านความคิดริเริ่ม กระตือรือร้นที่จะทำวิจัย
E = Evaluation & Enviroment หมายถึง รู้จักประเมินผลว่ามีประโยชน์สมควรจะทำต่อไปหรือไม่ และต้องรู้จักใช้เครื่องมือต่างๆในการวิจัย
A = Aim & Attitude หมายถึง มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่แน่นอน และมีทัศนคติที่ดีต่อการติดตามผลการวิจัย
R = Result หมายถึง ผลการวิจัยที่ได้มาเป็นผลอย่างไรก็ตามจะต้องยอมรับผลการวิจัยนั้นอย่างดุษฎี และเป็นผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ
C = Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความรู้อยากรู้อยากเห็น มีความสนใจและขวนขวายในการวิจัยอยู่ตลอดเวลา
H = Horizon หมายถึงว่า เมื่อผลการวิจัยปรากฏออกมาแล้วย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้เหมือนกับการเกิดแสงสว่างขึ้น แต่ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่าง ผู้วิจัยจะต้องดำเนินต่อไป จนกว่าจะพบแสงสว่าง ในทางสังคมแสงสว่างหมายถึง ผลการวิจัยก่อให้เกิดสุขแก่สังคม (อารมณ์ สนานภู่ : 2545.)